การจะเรียนภาษาใหม่ๆ ให้เก่ง ต้องมีความจำดี เพราะต้องจดจำทั้งคำศัพท์ จดจำทั้งรูปประโยค และกฎอะไรอีกร้อยแปด แต่รู้ไหมคะว่า ถ้ามองกลับกัน ใครอยากให้ความจำของตัวเองดี การเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ก็ช่วยได้นะ เอ๊ะ…ยังไง? ต้องมาดูกัน


หลายคนมักบ่นว่าตัวเองความจำไม่ดี ทำให้เรียนภาษาไม่เก่ง ไม่ว่าจะภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ ซึ่งจะว่าไป มันก็มีส่วนถูกอยู่เหมือนกันค่ะ การจะเรียนภาษาใหม่ๆ ต้องอาศัย “ความจำ” เยอะทีเดียว

แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการจะเรียนภาษาได้ดี ต้องมี “ความเข้าใจ” และ “การฝึกฝน” ด้วย

แต่ถ้าเรา “ความจำไม่ดี” แล้วแอบใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในการไม่พัฒนาทักษะภาษาตัวเองซะเลย มันก็ยังไงๆ อยู่นา… เพราะเดี๋ยวนี้ทักษะภาษาอังกฤษ (หรือภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาไทย) มีความสำคัญในการเรียน การทำงาน และชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว

อ. ผึ้ง ว่า ถ้าปัญหาหลักคือ “ความจำไม่ดี” งั้นเรามาแก้ที่สาเหตุนี้ตรงๆ ก่อนดีไหมคะ? ความจริงการจะมีความจำดีได้ มีเทคนิควิธีมากมาย อย่างที่ อ. ผึ้ง เล่าให้ฟังบ่อยๆ แล้ว และหนึ่งในนั้นคือ การเรียนภาษาใหม่ๆ นี่แหละ

การเรียนภาษาใหม่ๆ ได้ดี ไม่ใช่เป็นแค่ “ผลลัพธ์” ของการมีความจำดี แต่เป็น “วิธีการ” สร้างความจำดีด้วยค่ะ

อ. ผึ้ง อารดา

ฟังแล้วอาจจะเหมือนการ “หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง” ใช่ไหมล่ะ? แต่เรามาดูเหตุผลเบื้องหลังกัน

สมองดีเพราะเก่งหลายภาษา

งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันแล้วนะคะว่า คนที่พูดได้คล่องสองภาษา หรือ “Bilingual” หรือพูดได้คล่องหลายภาษา “Multilingual” มีแนวโน้มที่จะมีความจำดี และการทำงานของสมองดีกว่าคนที่พูดได้แค่ภาษาเดียวค่ะ

การใส่รหัส ถอดรหัส และตีความหมาย เป็นภาษาอื่น (นอกจากภาษาแม่ ซึ่งในกรณีคนไทย ก็คือภาษาไทย) ทำให้สมองต้องผ่านกระบวนการคิด เรียนรู้ จัดเก็บ แยกแยะ และดึงข้อมูลกลับออกมาใช้ เป็นการทำงานของทั้งความทรงจำระยะสั้น และความทรงจำระยะยาว

ยิ่งพยายามมากเท่าไหร่ในการจดจำคำศัพท์ ทำความเข้าใจคำศัพท์ในบริบทใหม่ๆ หรือเชื่อมโยงคำศัพท์ใหม่เข้ากับคำศัพท์เก่าที่เรารู้แล้ว ก็ยิ่งที่ให้กล้ามเนื้อสมองได้ออกกำลังเยอะขึ้น

และยิ่งสมองฟิต ความจำของเราก็ยิ่งดีขึ้นตามไปด้วยค่ะ

ถึงคำว่า “Bilingual” และ “Multilingual” จะหมายถึงคนที่พูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาในระดับ “คล่อง” ก็จริง แต่สำหรับใครที่รู้สึกตัวเองยังไม่คล่องแม้แต่ภาษาอังกฤษ (ทั้งที่อุตส่าห์เรียนกันมาตั้งแต่ประถม) ก็ไม่ใช่ว่าจะหมดหวังนะคะ

สำหรับเป้าหมายการฝึกความจำ เรายังไม่จำเป็นต้องรู้ภาษานั้นระดับ “ลึกซึ้ง” ก็ได้

ในเมื่อตอนนี้ เป้าหมายหลักของเราคือ ฝึกความจำ การได้ทักษะภาษาต่างประเทศด้วย ถือเป็นของแถมค่ะ เราจะได้ไม่กดดันตัวเอง จะท่องคำศัพท์แบบสบายๆ เรียนรู้ประโยคใหม่ๆ จากเพลงที่ชอบ หรือการ์ตูนสนุกๆ วันละตอนสองตอนก็โออยู่นะคะ

ยิงปืนนัดเดียว…

เขาประมาณกันว่า แค่เรารู้จักคำศัพท์อย่างน้อย 100 คำ ที่ใช้บ่อยที่สุดในภาษานั้น ก็ช่วยให้เราสื่อสารระดับเบสิคได้แล้ว

วันนี้ลองตั้งเป้าหมาย เริ่มจากง่ายๆ ก่อนก็ได้

ท่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี หรือภาษาอื่นๆ ที่เราชอบ วันละ 3 คำ ภายใน 3 เดือนนิดๆ เราก็ได้คำศัพท์ใหม่ถึง 100 คำแล้ว เย้…!

นอกจากคำศัพท์ 100 คำ จะช่วยให้เราเริ่มอ่านหนังสือในภาษานั้นได้เข้าใจ โดยเฉพาะหนังสือที่ใช้คำศัพท์ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ข่าว บทความสั้นๆ หรือนิทานเด็ก ยังช่วยให้สมองแข็งแรงขึ้น และความจำของเราก็ดีขึ้นอย่างชัดเจนด้วย

เรื่องเงินเรายังประหยัด อดออมได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องสมอง อ. ผึ้ง แนะนำให้ถือคติว่า “USE it or LOSE it.” ถ้าอยากความจำดี ต้องใช้สมองบ่อยๆ นะคะ ^-^


บทความมีลิขสิทธิ์ : ขอบคุณที่ไม่คัดลอก ดัดแปลง หรือนำไปเผยแพร่ต่อ

สำหรับผู้ที่สนใจภาษาอังกฤษแบบมือโปร เพื่อพัฒนาชีวิตการทำงานของคุณให้ก้าวขึ้นอีกระดับ ติดตามอ่านความรู้ดีๆ หรือลงคอร์สเรียนภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ เทคนิคคำศัพท์ เทคนิคการพัฒนาสมอง และความจำ ได้ที่ Website : ajarnarada.com และ Facebook อ. ผึ้ง อารดา : English Brain

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: