คำถามหนึ่งที่อาจารย์ภาษาอังกฤษมักเจอบ่อยๆ จากนักเรียน นักศึกษา หรือแม้แต่คนวัยทำงานแล้วคือ มีเทคนิคยังไง ช่วยให้ฟังภาษาอังกฤษเก่ง ฟังแล้วรู้เรื่อง?


แล้วคำตอบหนึ่งที่ อ. ผึ้ง ได้ยินบ๊อย…บ่อย ก็คือ “ฟังเยอะๆ ฟังทั้งวัน ยังไม่รู้เรื่องก็ฟังไปเถอะ เดี๋ยววันนึงมันก็รู้เองแหละ!”

แล้วที่สำคัญคือ ผู้มีประสบการณ์หลายๆ คนมักจะแนะนำให้ เปิดข่าว เปิดทีวี ทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืน สักวันเราจะเข้าใจ รู้แจ้งได้เอง (อย่างกับว่าภาษาอังกฤษเป็นหลักธรรมะ)

ว่าแต่ว่า…มันจริงหรือเปล่า?

ในฐานะที่ อ.ผึ้ง เป็นอาจารย์ภาษาอังกฤษ เห็นด้วยล้านเปอร์เซ็นต์ค่ะว่า การจะทำอะไรให้เป็น และทำอะไรให้เก่ง และเก่งจริงด้วย มันต้องใช้ “การฝึกฝน” คือทำบ่อยๆ ซ้ำๆ

เพราะ “ภาษา” มันคือ “ทักษะ” การขี่จักรยาน การขับรถ เป็นทักษะ การพูด และการฟัง ก็เป็นทักษะ เพราะฉะนั้น

ถ้าอยากฟังเก่ง ก็ฟังบ่อยๆ อันนี้จริงค่ะ

ฟังให้ “เก่ง” หรือฟังให้ “รู้เรื่อง”

คำว่า “ฟังให้รู้เรื่อง” มันก็ไม่เหมือนกับคำว่า “ฟังเก่ง” นะคะ

คนฟังเก่งอาจจะเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังคนพูดได้นานๆ ไม่ขัดจังหวะ ฟังแล้วไม่เบื่อ แต่ฟังแล้วเข้าใจเขาหรือเปล่า? อันนี้ก็ไม่แน่เหมือนกันน้า…

ลองย้อนไปที่ภาษาไทยก่อน บางทีเราคุยกับคนไทยด้วยกันเอง เรายังไม่รู้เรื่องเลย เพราะเราไม่มีพื้นฐานความรู้ที่ไม่เหมือนกัน ถ้าเราไม่รู้ภาษาท้องถิ่น เราก็อาจจะฟังเขาคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ถ้าเราไม่ใช่สายเศรษฐศาสตร์ ไปฟังนักลงทุนคุยกันก็ไม่รู้เรื่อง เพราะเราทำงานกันคนละสายอาชีพ ก็ต้องมีบ้างที่บางคำศัพท์หรือบางคอนเซ็ปต์ที่เราไม่เข้าใจ

ทีนี้ ถ้ามาฟังภาษาที่เราไม่ถนัดหรือกำลังหัดเรียน อย่างภาษาอังกฤษเนี่ย ยิ่งมีความ “ไม่คุ้น” มากกว่าภาษาไทยใช่ไหมคะ ทั้งคำศัพท์ ทั้งการเรียงประโยค ทั้งการเปลี่ยน tense การเปลี่ยนรูปคำประธานให้สอดคล้องกับกริยา แล้วก็อะไรอีกเยอะแยะเลย

การฟังบ่อยๆ ซ้ำๆ เพื่อให้ซึมซับเข้าไปในหัว ก็เลยอาจจะเป็นเทคนิคที่ไม่ตอบโจทย์สำหรับทุกคนค่ะ

มาดูตัวอย่างกัน

สมมุติ อ. ผึ้ง อยากเรียนภาษาญี่ปุ่น พอตัดสินใจแล้ว ก็เดินไปเปิดซีรี่ส์ญี่ปุ่น เปิดข่าวภาษาญี่ปุ่น เปิดทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืนเลย โดยไม่นั่งดูซับไตเติล ไม่ดูรูปภาพในจอด้วยนะ แค่หวังว่าเปิดเป็น “background” เปิดให้เข้าหู แล้วซึมซับเข้าสมอง

ถ้าแบบนี้ประโยชน์ไหม? คำตอบคือ “มีค่ะ” คือถ้าเดินไปไหน แล้วเจอนั่งท่องเที่ยวเขายืนคุยกันข้างๆ อ. ผึ้ง อาจจะหูผึ่ง รู้ทันทีว่า อ๋อ! คนนี้เขาเป็นคนญี่ปุ่น เพราะเราจับลักษณะการออกเสียง จับท่วงทำนอง การขึ้น-ลงของเสียงได้ มีบางคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ ด้วย เรารู้ว่านี่ไม่ใช่คนจีน ไม่ใช่คนไทย และต้องเป็นญี่ปุ่นแน่ๆ

แต่ถ้าถามว่าเขาพูดเรื่องอะไรกัน ตอบเลยว่า “ไม่รู้ค่ะ”

และถ้าทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ อีก รับรองอีก 5 ปี ทักษะของ อ. ผึ้ง ก็คงอยู่ที่เดิม ก็คือ “ฟังได้” แต่ “ฟังไม่รู้เรื่อง” หรือพูดอีกอย่างคือ “ได้แต่สำเนียง” แต่ยัง “ไม่ได้ความหมาย” เพราะการจะฟังให้เข้าใจภาษาอังกฤษ

เราต้องรู้การเชื่อมโยง “เสียง” หรือ “คำศัพท์” ที่ได้ยินไปสู่ “ความหมาย” ด้วยค่ะ

เมื่อเราไม่มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการถอดรหัสเสียงนั้น ออกมาเป็นความหมาย มันก็ไม่มีอะไรที่จะเป็นจุดร่วมหรือเชื่อมการสื่อสารได้ เหมือนวิทยุที่อยู่กันคนละคลื่น ที่ยังไงก็จูนหากันไม่ได้อยู่ดีค่ะ

สรุปว่าฟังดีไหม?

สรุปคือ การฟังบ่อยๆ ซ้ำๆ เพื่อฝึกทักษะการฟัง เป็นเทคนิคที่ดีค่ะ แต่ อ. ผึ้ง มองว่ามัน “ยังไม่จบกระบวนการ” อย่าเพิ่งรีบกระโดดลงไปทำ แล้วตัดทางอื่นๆ ออกหมด เพราะถ้าเราเอาแต่ฟังทีวีซ้ำๆ โดยไม่ยอมเรียนรู้ความหมายของศัพท์แต่ละคำ หรือโครงสร้างประโยค เราก็จะได้ประโยชน์ครึ่งเดียว แถมเปลืองค่าไฟด้วย (>-<)

อยากจะฝึกฟังให้เข้าใจ ต้องฟังอย่างฉลาด และวางแผนการฟังด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนค่ะ ถ้าอยากรู้เทคนิคฟังบ่อยๆ ยังไงให้เข้าใจจริงๆ ติดตามตอนจบ ที่นี่ นะคะ (^-^)


บทความมีลิขสิทธิ์ : ขอบคุณที่ไม่คัดลอก หรือดัดแปลงเพื่อนำไปเผยแพร่นะคะ

สำหรับผู้ที่สนใจภาษาอังกฤษแบบมือโปร เพื่อพัฒนาการทำงานของคุณก้าวขึ้นอีกระดับ ติดตามอ่านความรู้ดีๆ หรือลงคอร์สเรียนภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจ เทคนิคคำศัพท์ เทคนิคการพัฒนาสมอง และความจำ ได้ที่ Website : ajarnarada.com และ Facebook อ. ผึ้ง อารดา : English Brain

2 ความเห็น

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: